วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


วิธีระบบ

นักการศึกษาเชื่อว่าการนำเอาวิธีระบบมาใช้เป็นแนวในการดำเนินงานใด ๆ จะช่วยให้การดำเนินงานนั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วิธีระบบเป็นกระบวนการคิดและการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นลำดับ  ช่วยป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน


ความหมายของวิธีระบบ
เปรื่อง  กุมุท (2518 : 1) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นภาพรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น 
ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2520 : 322) ได้อธิบายความหมายคำว่า  ระบบไว้ว่า เป็นผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน  แต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  เช่นระบบการศึกษาจะมีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไปคือการเรียนการสอน  การจัดการบริหาร  อาคารสถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวก  ชุมชน และผู้เรียน

องค์ประกอบของวิธีระบบ

            โดยทั่วไปวิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
            1)  ข้อมูลป้อนเข้า (input)  ได้แก่ วัตถุดิบ  ปัญหา   ความต้องการ  ข้อกำหนดกฎเกณฑ์  
            2)  กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดก็ได้                             
            3)  ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากการวางแผนและการดำเนินงาน
                องค์ประกอบทั้งสามประการสามารถเขียนเป็นแบบจำลองได้หลายวิธี  ดังแผนภูมิต่อไปนี้

แบบจำลองแนวนอน
แบบจำลองแนวตั้ง
การประยุกต์ใช้วิธีระบบกับกระบวนการผลิต  การใช้  และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน  สามารถทำได้ดังแนวทางต่อไปนี้

                การผลิต (Production)

การผลิตสื่อการเรียนการสอน เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี ใช้งานได้เหมาะสมกับเนื้อหา  วัตถุประสงค์  และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียน  การผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบสามารถจำแนกกระบวนการตามแบบจำลองวิธีระบบได้ดังนี้



จากแผนภูมิแสดงกระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  แสดงให้เห็นถึงการวางแผน  การดำเนินงานและการตรวจสอบประเมินผลอย่างเป็นขั้นตอน  ซึ่งอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input) สิ่งควรนำมาพิจารณาที่เป็นข้อมูลในการผลิตสื่อการเรียนการสอนได้แก่  ปัญหา  วัตถุประสงค์  ความต้องการในการผลิต  วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  ความสะดวกและความชำนาญด้านเทคนิค  ในขั้นนี้ควรตอบคำถามเพื่อนำไปสู่การป้องกันและการแก้ปัญหาในการผลิตอย่างได้ผลคือ  จะผลิตสื่ออะไร  สื่อนั้นจะใช้กับเนื้อหาอะไร  เพื่อวัตถุประสงค์อะไร  มีความจำเป็นในการผลิตมากน้อยเพียงใด  ต้องใช้เวลาในการผลิตมากน้อยเพียงใด  สามารถใช้สื่ออื่นทดแทนได้หรือไม่  มีวัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบอะไรบ้าง  สื่อที่จะผลิตต้องใช้ความชำนาญด้านเทคนิคสูงเพียงใด  หากจำเป็นต้องใช้เทคนิคสูงจะประสานงานกับผู้ชำนาญการอย่างไร  ต้องลงทุนมากน้อยเพียงใด   มีความคุ้มค่าในการผลิตหรือไม่
2.  กระบวนการ (Process)  เป็นขั้นตอนในการลงมือผลิตสื่อการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบและวางแผนไว้อย่างดีแล้ว  สิ่งจำเป็นในขั้นการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ถูกต้อง  ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  นักเทคโนโลยีการศึกษา  และช่างเทคนิคเฉพาะทาง เช่น งานช่าง  งานศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม  ประติมากรรม  วรรณกรรม  นาฏศิลป์  ดนตรี  การออกแบบประยุกต์ศิลป์เช่น  การถ่ายภาพนิ่ง  การถ่ายภาพวีดิทัศน์  งานหัตถศิลป์  งานออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
3.   ผลลัพธ์ (Output)  หมายถึงสื่อการเรียนการสอนที่ได้จากการวางแผนและผลิตขึ้นมาอย่างเป็นระบบ สื่อการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์เสร็จแล้วควรได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพ เช่น ความคงทน  ความคล่องตัวในการใช้งานและเก็บรักษา   ด้านประสิทธิภาพในการใช้งาน เช่น ความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาวัตถุประสงค์  และการกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ หากพบข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งของสื่อที่ผลิตขึ้น สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้สื่อการเรียนการสอนนั้นได้ทุกขั้นตอน
             

การใช้ (Presentation) 

           การใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาสาระของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์    การใช้สื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรคำนึงถึงขั้นตอนย่อย ๆ ตามลำดับคือ  การเลือก  การเตรียม  การใช้   การประเมินผล  และการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง  ซึ่งแต่ละขั้นตอนสามารถจัดเป็นระบบได้ดังนี้
            1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input) เริ่มจากการเลือก (Selection) ในขั้นนี้ครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของเนื้อหาบทเรียน  เทคนิควิธีสอน  และธรรมชาติของสื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิดเป็นอย่างดี  จากนั้นจึงเป็นการเตรียมองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้สื่อการเรียนการสอน ได้แก่    การเตรียมครูผู้สอน  สื่อการเรียนการสอนที่เลือกไว้แล้ว  ผู้เรียน  และชั้นเรียน  เป็นต้น 
            2.   กระบวนการ (Process) เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วจึงลงมือใช้สื่อการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้อย่างมั่นใจ  เป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง  ใช้ได้เหมาะสมกับเวลาไม่ช้าหรือรวดเร็วเกินไป  ไม่ยืนบังสื่อในขณะใช้ประกอบการเรียนการสอน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ไม่ควรนำมาแสดงให้ผู้เรียนเห็นก่อนถึงเวลาใช้  เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บสื่อให้เรียบร้อยทันที่
            3.   ผลลัพธ์  (Output)  เป็นขั้นการวิเคราะห์ผลการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนว่าได้ผลดีเพียงใด  ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่  สิ่งที่ควรพิจารณาในขั้นนี้ได้แก่ คุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ  เทคนิคและขั้นตอนในการใช้สื่อของครูผู้สอน

จากแผนภูมิแสดงการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแสดงให้เห็นว่าสื่อการสอนให้เกิดประโยชน์และคุณค่ามากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นศักยภาพของสื่อแต่ละชนิด  จุดมุ่งหมายของเนื้อหา ความสามารถของผู้เรียน เทคนิคการสอน และวิธีใช้สื่อการเรียนการสอนของครู   การใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบควรมีขั้นตอนดังนี้
            
 การเก็บรักษา (Storage)
            การเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว  ทั้งยังช่วยในการตรวจสอบได้ง่าย  ประหยัดเวลา  สื่อการเรียนการสอนบางชนิดต้องเก็บให้ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  เช่น  ความชื้น  ความร้อน  ฝุ่นละออง  เป็นต้น  การเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบทำได้ดังนี้


จากแผนภูมิแสดงการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input)  เป็นขั้นการวางแผนในการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนที่หลังจากการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นเรียบร้อยแล้ว  โดยการพิจารณาวิเคราะห์ปัญหา วัตถุประสงค์ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา
2.   การดำเนินการ (Process) หลังจากการพิจารณาและวางแผนไว้แล้วก็ดำเนินการเก็บสื่อการเรียนการสอน  ซึ่งอาจจำแนกตามรายวิชา  จำแนกตามลักษณะของสื่อ  เช่น  สื่อ 2 มิติ  สื่อ 3 มิติ  จำแนกตามคุณสมบัติของสื่อเช่นสื่อวัสดุ  สื่ออุปกรณ์  สื่อกิจกรรม  เป็นต้น
       3.  ผลลัพธ์ (Output) เมื่อมีการดำเนินงานเก็บสื่อการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้เป็นอย่างดีแล้ว  ทำให้สามารถเลือกใช้สื่อไปใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนและนำกลับมาเก็บได้อย่างสะดวก  นอกจากนี้หากพบข้อบกพร่องใด ๆ ก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ถูกต้อง 

การวางแผนในการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

            การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น  ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น  การวางแผนในการใช้สื่อการเรียนการสอนทำได้หลายวิธี  การใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า The ASSURE model เป็นอีกแบบหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถนำไปเป็นแนวทางได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้
           A nalyze  Learner  Characteristics          การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
          S tate  Objectives                           การกำหนดวัตถุประสงค์
          S elect, Modify, or Design Materials         การเลือก  การดัดแปลง  หรือการออกแบบใหม่
          U tilize  Materials                            การใช้สื่อ
          R equire  Learner  Response                 การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
          E valuation                                  การประเมินผล
           
            การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze  Learner  Characteristics)   ผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอน  ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้แตกต่างกัน  การใช้สื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดี  ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสำคัญ  เช่น  วัย  เพศ  ระดับการศึกษา  สังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  ความเชื่อ  การเลือกเนื้อหาบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนจะช่วยกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  เช่น  ผู้เรียนที่มีทักษะในการอ่านต่ำควรใช้ประเภทรูปภาพ  ภาพวีดิทัศน์  กิจกรรมต่าง ๆ  แต่ไม่เน้นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ  ตำรา  หรือหากผู้เรียนมีระดับการเรียนรู้ต่างกันมาก  อาจใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทบทเรียนโปรแกรม  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ชุดการสอนรายบุคคล  เป็นต้น

             การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objective) เป็นความต้องการที่ตั้งไว้เพื่อที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้สื่อการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอน  การกำหนดวัตถุประสงค์แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรให้ครอบคลุมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
            2.1  ด้านสมอง หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้  ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  การตัดสิน 
            2.2  ด้านจิตใจ  หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหาบทเรียน  เช่น  ความชอบ  ซาบซึ้ง  การเห็นคุณค่า  การรู้จักลำดับคุณค่า  การยึดมั่นในคุณค่า
            2.3   ด้านทักษะหรือความชำนาญ  หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทั้งด้านการใช้สมองและความรู้สึกอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์สูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์  ดังนั้นการใช้สื่อการเรียนการสอนจึงควรกระทำเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะโดยการเลียนแบบ  การทำได้ด้วยตนเอง  การทำได้อย่างแม่นยำ  การทำได้อย่างละมุนละม่อม  การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
แนวทางในการกำกับให้การเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ควรมีข้อกำหนดดังนี้
1.   การกระทำ (Performance) เป็นข้อกำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดว่าผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้บ้างภายหลังจากการเรียนแล้ว
2.  เงื่อนไข (Conditions)  เป็นวิธีการหรือข้อกำหนดที่ใช้ในการจูงใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
3.  เกณฑ์ (Criteria) เป็นมาตรการหรือข้อกำหนดในการวัดว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์นั้นหรือไม่

การเลือก  ดัดแปลง  หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or  Design  Materials) การที่จะได้สื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. การเลือก หมายถึงการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน  การเลือกสื่อให้ได้ผลดีควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  ลักษณะของผู้เรียน  จุดมุ่งหมายของบทเรียน  วิธีสอน  ข้อจำกัดเฉพาะของสื่อแต่ละชนิด  เช่น  ความบอบบาง  ความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการใช้งาน  ความปลอดภัย  ขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป เป็นต้น
2.  การดัดแปลง หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับเนื้อหา วิธีสอน วัตถุประสงค์  และลักษณะของผู้เรียน เช่น  การตัดต่อสื่อภาพวีดิทัศน์  การเรียงภาพสไลด์ใหม่  การรวมภาพจากโปรแกรมพาวเวอร์พอยท์หลาย ๆ เรื่องเป็นเรื่องใหม่   การดัดแปลงสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพควรพิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ  เช่น  ความยุ่งยากทางเทคนิค   คุณสมบัติของวัสดุ  การเปรียบเทียบคุณค่าหรือประโยชน์ของสื่อที่ถูกดัดแปลงหับสื่อเดิม
3.  การผลิต  เป็นวิธีสุดท้ายหลังจากครูผู้สอนไม่สามารถเลือกหรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วได้  การผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ลักษณะของเนื้อหาบทเรียน  จุดมุ่งหมายของบทเรียน  ลักษณะของผู้เรียน  ค่าใช้จ่าย  ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะ  เวลา  ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
        4.   การใช้สื่อ  เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผู้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด  เช่น  ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้  ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้อย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว  ไม่ใช้เวลานานหรือเร็วเกินไป  ใช้สื่อเมื่อถึงเวลาเท่านั้น  ไม่ยืนบังในขณะใช้สื่อ  การชี้สื่อควรใช้วัสดุไม่ควรใช้นิ้วมือชี้  ต้องเตรียมติดตั้งสื่อไว้ล่วงหน้า  จัดสภาพแวดล้อมหรือสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้เรียบร้อย  สื่อประเภทกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง  กำหนดกิจกรรมต่อเนื่องเช่นการศึกษาค้นคว้า การอภิปราย  การจัดป้ายนิเทศ  เป็นต้น

      การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน  การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนขึ้นอยู่กับชนิดของสื่อและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน  เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อ ๆ และกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วง ๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้  ส่วนการใช้สื่อสิ่งพิมพ์จำพวกหนังสือ อาจให้ผู้เรียนอภิปรายได้ทันทีเมื่ออ่านจบหรือกำหนดให้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเช่นการจัดป้ายนิเทศ  การจัดนิทรรศการ  การทายปัญหา  เป็นต้น  ไม่ว่าจะกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนเป็นรูปแบบใด  ครูผู้สอนต้องให้การเสริมแรงทันทีทันใดเสมอ

      การประเมิน (Evaluation) การประเมินการใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ  คือ
1. การประเมินกระบวนการสอน   เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอน ได้แก่ ครูผู้สอน  สื่อการเรียนการสอน  ผู้เรียน  เนื้อหาบทเรียน  และวิธีสอน การประเมินสามารถทำได้ทั้งก่อนสอน  ระหว่างสอน  และหลังการสอน
2.  การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด  อาจทำได้ด้วยการสังเกตความสนใจ  การทดสอบ  การตอบปากเปล่า  การตรวจผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น 
3.   การประเมินสื่อและวิธีการสอน   การประเมินสื่อควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อได้แก่ความคล่องตัว  ความแข็งแรง  และประสิทธิภาพในการใช้งานทีสามารถดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี  ส่วนวิธีสอนประเมินความเหมาะสมของวิธีสอน และเนื้อหาว่าสอดคล้องกับสื่อการเรียนการสอนเพียงใด ซึ่งอาจให้ผู้เรียนวิจารณ์หรืออภิปรายถึงเทคนิควิธีสอนและการใช้สื่อการเรียนการสอนว่าเหมาะสมหรือไม่มากน้อยเพียงใด

การจัดระบบการเรียนการสอน

            เกอร์ลัคและอีลี (Gerlack  & Ely, 1971 : 13 – 29) ได้เสนอแบบของการจัดระบบการสอนแบบหนึ่ง  ซึ่งมีองค์ประกอบ  10  ประการ  ดังนี้
                1.   การกำหนดจุดมุ่งหมาย  ต้องเป็นจุดมุ่งหมายที่สามารถวัดหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนได้
                2.  การกำหนดเนื้อหา  โดยทั่วไปการกำหนดเนื้อหาต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายธรรม   ชาติของผู้เรียน  สภาพสังคมและท้องถิ่น  ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง
                3.   การพิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน  ก่อนทำการสอนผู้สอนต้องรู้พื้นฐานเดิม  ความสนใจ  ความถนัดและความพร้อมของผู้เรียนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น  การใช้ระเบียนสะสมเป็นบันทึกประจำตัวของผู้เรียนแต่ละคน   การใช้ข้อสอบเพื่อทดสอบความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะเรียน
                4.   การเลือกวิธีสอน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้  ควรพิจารณาแนวทางในการเลือกวิธีสอนดังนี้คือ  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น  ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยให้ผู้เรียนทำงานเองตามลำพัง
                5.   การจัดกลุ่มผู้เรียน  การจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอนและสื่อการสอน  อาจแบ่งได้เป็น  3  กลุ่มคือ  กลุ่มใหญ่  จำนวนตั้งแต่ 100  คนขึ้นไป  ลักษณะการสอนเป็นแบบบรรยาย  การกำหนดกิจกรรมเป็นกลุ่ม  สื่อการสอนควรใช้เครื่องขยายเสียง  สื่อสิ่งพิมพ์  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  วิทยุกระจายเสียง  เป็นต้น  กลุ่มย่อย  ตั้งแต่  30 50 คน ลักษณะการสอนเป็นแบบบรรยาย  การสาธิต  การทดลอง  การอภิปราย  ศูนย์การเรียน  เป็นต้น   การเรียนเป็นรายบุคคล  เป็นการส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง  โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการเรียนรายบุคคล  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น
                6.   การกำหนดเวลา  การใช้เวลาในการสอนขึ้นอยู่กับส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบ  เช่น  จุดมุ่งหมายของการสอน  เนื้อหาบทเรียน  พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน  วิธีสอน  ขนาดของกลุ่มผู้เรียนและอื่น ๆ อีก
                7.   การกำหนดสถานที่ 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น